ไม่ใช่แค่การ "เปลี่ยนเข็ม" หรือ "ตีนผี"
แต่การเย็บหนังเทียมให้สวยด้วยจักรเย็บผ้าไฟฟ้า ยังต้องใช้เทคนิคอีกหลายอย่าง เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สวยถูกใจ สมกับความทุ่มเทและเวลาที่ใช้ไป ที่สำคัญเทคนิคและเคล็ดลับเหล่านี้ จะทำให้การเย็บหนังเทียมผ่านไปได้อย่างเพลิดเพลิน ราบรื่น
สอนโดย “ครูอุ่น” รวิภา อัศวรักษ์ Designer จาก PINNSHOP
อุ่นจะสอนการประยุกต์ความรู้เพื่อให้ทุกท่านที่มีจักรเย็บผ้า สามารถเย็บหนังได้ โดยไม่ต้องลงทุนมาก และจักรไม่เสีย เย็บกระเป๋าหนังเสร็จแล้ว อยากกลับไปเย็บผ้า จักรก็ยังอยู่ในสภาพที่ดีเหมือนเดิมค่ะ
ท่านสามารถเข้าเรียนได้เลยค่ะ
ตอนที่ 1 ภาพรวมการเย็บหนังเทียมด้วยจักรเย็บผ้าไฟฟ้า
ตอนที่ 2 ความแตกต่างระหว่างการเย็บผ้าและหนังเทียม
ตอนที่ 3 เทคนิคการเย็บหนังเทียมให้สวย
ตอนที่ 4 ลงมือทำชิ้นงาน กระเป๋า Holdy Bag
คอร์สเรียนออนไลน์การเย็บหนังเทียมด้วยจักรเย็บผ้าไฟฟ้า ทุกท่านจะได้ทำกระเป๋า Holdy bag โดยชุดวัสดุสำหรับการเรียนก็จะส่งไปถึงบ้านคุณเลย ทุกท่านสามารถทำตามอุ่นได้โดยที่ไม่ต้องออกไปหาซื้อวัสดุที่ไหนให้ยุ่งยากนะคะ
ทุกท่านจะสามารถทำกระเป๋าหนังได้จนเสร็จสมบูรณ์ อย่างถูกต้อง อุ่นจะสอนตั้งแต่
- ภาพรวมคอร์สเรียน
- ความแตกต่างระหว่างการเย็บผ้าและหนังเทียม ในเรื่องของวัสดุ แพทเทิร์นและวิธีการเย็บ
- เทคนิคการเย็บหนังเทียมให้สวย ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ เทคนิคการวางแพทเทิร์น และเทคนิคการเย็บ
- ลงมือทำชิ้นงานจากหนังเทียม เป็นกระเป๋า Holdy bag
สามารถต่อยอดทำงานหนังเทียมอื่นๆได้ด้วยตัวเอง
คอร์สเรียนนี้ประกอบด้วย
- วิดีโอสอนอย่างละเอียด 4 บทเรียน
- แพทเทิร์นกระเป๋า Holdy Bag ขนาดเท่าจริงพร้อมวิธีทำ
- ชุดวัสดุทำกระเป๋า Holdy Bag ประกอบด้วย หนังเทียมเกรดพรีเมี่ยมไดคัทตามแพทเทิร์น แผ่นเสริมก้นกระเป๋า ห่วงทองเหลือง กระดุมแม่เหล็ก โซ่ เข็มปักผ้า กาว ด้ายเย็บ และวิธีทำ
"หนังเทียม" วัสดุนี้ต่างจากผ้าโดยสิ้นเชิง
ก่อนจะเริ่มทำชิ้นงานอะไรจากหนังเทียม เราต้องเข้าใจธรรมชาติของตัววัสดุก่อน หนังเทียมทำจาก PU หรือ Polyurethane เป็นพลาสติก ผลิตขึ้นมาเพื่อให้มีพื้นผิวคล้ายหนังแท้ จึงไม่ได้เกิดจากการทอ มีความหนา เหนียว และผิวหน้ามันวาว มีความฝืด หนืด เหมือนหนังแท้
และ "การเย็บหนังเทียม" ไม่เหมือนการเย็บผ้า
อุ่นจะสอนให้ทุกท่านเข้าในตัววัสดุ เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผ้าและหนังเทียม ซึ่งส่งผลให้การทำแพทเทิร์นและวิธีการเย็บนั้นต่างกัน รวมถึงตั้งค่าจักรเย็บผ้าไฟฟ้าอย่างไรเมื่อต้องเย็บหนังเทียม นอกจากนี้อุ่นก็ยังสอนเทคนิคการทำงานกับหนังเทียมให้ออกมาเป็นทรงสวยงาม เรียบร้อย โดยใช้เครื่องมือน้อยชิ้น
"ทุกท่านที่มีจักรเย็บผ้าไฟฟ้า สามารถเย็บหนังได้ โดยไม่ต้องลงทุนมาก จักรไม่พัง"
อุปกรณ์ที่นักเรียนต้องมีเพิ่มเติม
- ตีนผี Non Stick Foot ใช้สำหรับเย็บบนวัสดุที่ผิวหน้าฝืด หนืด อย่างพลาสติกและหนัง ราคา 850 บาท
2. เข็มเย็บหนัง เข็มเย็บหนังจะไม่เหมือนกับเข็มเย็บผ้าค่ะ เป็นเข็มรูปลิ่ม ขอบด้านข้างจะคม เพื่อให้เฉือนเนื้อวัสดุให้ทะลุ ราคา 135 บาท
3. Wonder Clips เราไม่สามารถเนาหนังเทียมได้นะคะ ก่อนการประกอบเราต้องหนีบด้วย Wonder Cli่ps ค่ะ ราคา 250 บาท
อุปกรณ์เสริม
- แผ่นรองตัดแบบ 2 หน้า ขนาด 60×45 cm. สามารถใช้วัดได้ทั้งด้านนิ้ว และด้านเซนติเมตร คุณภาพดีและมีขนาดใหญ่ เหมาะแก่การใช้คัตเตอร์ และโรตารี่ คัตเตอร์ ราคา 790 บาท
2. เบ้ากระสวยล่าง จักรเย็บผ้า สำหรับเป็นเบ้ากระสวยสำรองในการเย็บด้ายเส้นใหญ่ หรือด้ายยางยืด จะได้ไม่ใช้ปนกับกระสวยสำหรับเย็บด้ายธรรมดานะคะ ก่อนซื้อต้องเช็ครุ่นให้ตรงกับจักรที่ใช้ด้วยนะคะ